วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การออกแบบโปรแกรม

การออกแบบโปรแกรม  มีหลักการดังต่อไปนี้


1.การออกแบบระบบ
  • คุณลักษณะของหน่วยแสดงผล (Output Specification)
         - เนื้อหา, รูปร่าง, ปริมาณ, ทันเวลา, สื่อ, รูปและขนาด
  • คุณลักษณะของหน่วยนำเข้าข้อมูล (Input Specification)
         - เนื้อหา, ทันเวลา, สื่อ, รูปขนาด, ปริมาณ
  • คุณลักษณะของหน่วยประมวลผล (Processing Specification)
- การคำนวณ, ประยุกต์ใช้, โปรแกรมระบบ, อุปกรณ์ในการคำนวณ
  • คุณลักษณะส่วนจัดเก็บข้อมูล (Storage Specification)
         - การเข้าถึง, การจัดการข้อมูล, ปริมาณ, สื่อ
  • คุณลักษณะกระบวนการปฏิบัติ (Procedure Specification)
         - งาน, การควบคุม
  • คุณลักษณะบุคลากร (Personnel Specification)
         - งาน, คุณวุฒิ, การอบรม


2.การพัฒนาโปรแกรม
  • ศึกษาความต้องการของโปรแกรม (Program Requirements)
  • การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
  • การเขียนโปรแกรม (Program Coding)
  • การตรวจสอบข้อผิดพลาด และแก้ไขโปรแกรม (Program Debugging)
  • การทดสอบโปรแกรม (Program Testing)
  • การบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance)

3. หลักในการพัฒนาระบบ
  • พัฒนาไป แก้ไขไป (Build and Fix Model)
  • ทำไปทีละขั้นทีละเรื่อง (Waterfall Model)
  • พัฒนาต้นแบบมาก่อน (Prototyping Model)
  • คิดเล็กแล้วขยาย (Incremental Model)
4.ต้องมีการควบคุม
  • หน่วยนำเข้าข้อมูล (Input)
        - การตรวจสอบเชิงตัวเลข (Check Digits)
        - การควบคุมทั้งระบบ (Control Total)
        - การทำสำเนาข้อมูลที่นำเข้า (Duplicate Data Entry)
        - การตรวจแก้ปรับเปลี่ยนข้อมูล (Edit Checks)
        - ตรวจสอบแหล่งของเอกสารสำคัญ (Log of Source Documents)
        - การทดสอบด้านเหตุผล (Reasonableness Tests)
        - การประมวลผลที่คงค้างอยู่ (Transaction Logs)
  • หน่วยประมวลผล (Processing)
         - การตรวจสอบสะกดรอย (Audit Trail)
         - การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)
         - การตั้งชื่อแฟ้ม (Labels)
         - การเข้าถึงข้อมูลที่จำกัด (Limited Access)
         - การใช้รหัสผ่าน (Passwords)
         - เวลาทำงาน (Run Totals)
         - การตรวจเช็คลำดับ (Sequence Check)
  • หน่วยแสดงผล (Output)
         - หน่วยแสดงผลเพิ่มเติม (Extra Output)
         - ยอดรวม (Totals)
  • หน่วยทั่วไป (General)
        - การสำรองข้อมูล (Backup)
        - เอกสารสำคัญ (Documentation)
5. เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบ
  • แผนภาพการไหลเวียนของข้อมูล (Data Flow Diagrams : DFD)
  • แผนผังระบบ (System Flowcharts)
  • แผนภาพ UML (Unified Model Language)

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C (Keil)

ศึกษาผ่านวีดีทัศน์ก็โอเคนะครับ การออกแบบโปรแกรมภาษาซี การออกแบบ

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer language)


ภาษาคอมพิวเตอร์(computer language) 


          ภาษาที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามชุดคำสั่งนั้นๆได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน  

 
         ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูง ถูกออกแบบเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล (compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำ สั่งได้ต่อไป        
 
           ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งกลุ่มได้เป็นอีกสองประเภทคือ ภาษาที่มนุษย์อ่านออก (human-readable) และภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออก (non human-readable) ภาษาที่มนุษย์อ่านออกถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจและสื่อสารได้ โดยตรงกับคอมพิวเตอร์ (แทบทุกชนิดเป็นภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออกจะมีโค้ดบางส่วนที่ไม่อาจอ่านเข้าใจได้ แต่ออกแบบมาเพื่อให้โค้ดกระชับซึ่งคอมพิวเตอร์จะสามารถประมวลผลได้ง่ายกว่า 




                      ภาษาคอมพิวเตอร์ (computer language) หมายถึง ภาษาที่สามารถนำมาใช้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งแต่ละภาษามีรายละเอียดดังต่อไปนี้

     อันแรก ภาษาเครื่อง (machine language)        
     ภาษาเครื่องจัดเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาเดียวที่สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะว่าการเขียนคำสั่งและข้อมูลในภาษาเครื่องใช้ระบบเลขฐานสอง (binary number system) คือใช้ตัวเลข 0 และ 1 เท่านั้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็ว ส่วนข้อเสียของภาษาเครื่อง คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันมีลักษณะการเขียนภาษาเครื่องที่แตกต่างกันไป และเกิดความยุ่งยากในการปรับปรุงแก้ไข ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน ดังนั้นภาษานี้จึงไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม
                                                                                                                                                                   
       ตัวอย่าง แสดงคำสั่งของภาษาเครื่อง
       ถ้าเราต้องการสั่งให้เครื่องทำงานตามคำสั่ง 9 + 3 แสดงได้ดังนี้
       การบวกแทนด้วยรหัส 10101010
       เลข 9 เปลี่ยนเป็นเลขฐานสอง 00001001
       เลข 3 เปลี่ยนเป็นเลขฐานสอง 00000011
                  ดังนั้น คำสั่ง 9 + 3
                             เขียนเป็นภาษาเครื่องได้ดังนี้  00001001 10101010 00000011

       อันที่สอง ภาษาแอสเซมบลี (assembly language)
      ภาษาแอสเซมบลีหรือจะเรียกชื่ออีกอย่างว่าภาษาระดับต่ำ ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ง่ายกว่าภาษาเครื่อง ส่วนการเขียนคำสั่งในภาษาแอสเซมบลีจะใช้คำย่อของภาษาอังกฤษและอ้างถึงตำแหน่งที่อยู่ภายในคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ MOVE, DC, DS, CL10 เป็นต้น ผู้ที่ต้องใช้ภาษาแอสเซมบลีส่วนมากจะเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ ดังนั้นภาษาแอสเซมบลีจึงไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม

      ตัวอย่าง แสดงคำสั่งของภาษาแอสเซมบลี
      ถ้าเราต้องการสั่งให้เครื่องทำงานตามคำสั่ง 9 + 3 แสดงได้ดังนี้
                     MOV AX, 9
                     MOV BX, 3
                     ADD AX, BX

    อันที่สาม ภาษาระดับสูง (high level language)
    ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าภาษาแอสเซมบลีและภาษาเครื่อง ทั้งนี้ก็เพราะการเขียนคำสั่งของภาษาระดับสูงมีลักษณะเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายกว่าภาษาแอสเซมบลี เช่น ใช้คำว่า READ, WRITE, PRINT, COMPUTE เป็นต้น
     ตัวอย่าง ของภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN), ภาษาโคบอล (COBOL),
                   ภาษาเบสิก (BASIC), ภาษาปาสคาล (PASCAL) และภาษาซี (C) เป็นต้น ซึ่งแต่ละภาษามี          ประวัติพอสังเขปดังต่อไปนี้

• ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN ย่อมาจาก FORmula TRANslator) พัฒนาโดยบริษัท IBM ระหว่างปี ค.ศ.1954 ถึง ค.ศ.1957 ภาษานี้ใช้สำหรับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ที่ต้องใช้ในการคำนวณสมการคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ปัจจุบันภาษาฟอร์แทรนยังเป็นที่นิยมใช้ ในการพัฒนาโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

• ภาษาโคบอล (COBOL ย่อมาจาก Common Business Oriented Language) พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1959 เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้านธุรกิจและการค้า ปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้ในด้านธุรกิจจำนวนมากยังเป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากภาษาโคบอล

• ภาษาเบสิก (BASIC ย่อมาจาก Beginners All-purpose Symbolic Instructional Code) เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เริ่มต้นพัฒนาโปรแกรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจการพัฒนาโปรแกรมอย่างง่าย ภาษาเบสิกเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาแรกที่ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นในยุคแรก ยังมีข้อจำกัดในการที่จะพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นขาดโครงสร้างที่ดี ทำให้การพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนเป็นไปได้ยาก ในช่วงต้นปี ค.ศ.1970 จึงมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาเชิงกระบวนการ (Procedural หรือ Structural Language) เกิดขึ้น ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นในการพัฒนาโปรแกรม ทำให้สามารถแก้ไขและบำรุงรักษาได้ง่าย เนื่องจากโปรแกรมถูกแยกออกเป็นส่วน ๆ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาเชิงกระบวนการที่สำคัญคือ

• ภาษาปาสคาล (Pascal) พัฒนาโดย Niclaus Wirth ในปี ค.ศ.1971 โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการสอนการเขียนโปรแกรมภาษาเชิงกระบวนการ ในมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากภาษาปาสคาลไม่มีคุณลักษณะที่จะสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมจึงไม่ได้รับความนิยมมากนัก

ภาษาซี (C) พัฒนาขึ้นในช่วงเดียวกับภาษาปาสคาล โดยนักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการ AT&T Bell ซึ่งได้นำ
เอาจุดเด่นของภาษา BCPL และภาษา B มาใช้และได้เพิ่มคุณลักษณะและชนิดข้อมูลอื่นเข้ามาด้วย เดิมภาษาซีถือว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่สำคัญในการพัฒนาโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการยูนิกส์ (Unix) ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถสร้างโปรแกรมประยุกต์ โปรแกรมภาษาซี ที่ทำงานได้รวดเร็วมาก เมื่อเทียบกับภาษาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เพราะว่าโปรแกรมภาษาซี โครงสร้างของภาษา C นั้นเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่องนั้นเองครับ

      อันที่สี่ ภาษาระดับสูงมาก (very high level language)
ภาษาระดับสูงมาก บางครั้งเรียกว่า Fourth Gerneration Languages (4GLs) เป็นภาษาที่มีลักษณะสำคัญ คือ ผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องบอกวิธีการทำงานโดยละเอียด เพียงแต่ระบุคำสั่งให้ทำงานสั้น ๆ ให้ภาษาระดับสูงมากเข้าใจก็เพียงพอ ส่วนวิธีการคำนวณหรือการทำงานภาษาระดับสูงมากจะเป็นผู้จัดการเองทั้งสิ้น บางครั้งเรียกว่า non-procedure language
ตัวอย่างภาษาระดับสูงมาก ได้แก่ ภาษา SQL (Structured Query Langauge) ซึ่งนิยมใช้กันในซอร์ฟแวร์พัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูล เช่น ORACLE เป็นต้น

     อันสุดท้าย ภาษาระดับธรรมชาติ (natural language)
ภาษาธรรมชาติจะเกี่ยวข้องกับระบบฐานความรู้ (knowledge based system ) และกฎอ้างอิง (inference rules) เพียงแต่ผู้ใช้ภาษาธรรมชาติป้อนคำถามผ่านเข้าไปในคอมพิวเตอร์ที่มีภาษาธรรมชาติก็จะทำการวิเคราะห์คำถามแล้วไปค้นหาคำตอบจากระบบฐานความรู้ที่เก็บไว้
   
        ตัวอย่าง ของภาษาธรรมชาติ ได้แก่
                     ภาษา PROLOG และภาษา LISP (List Processing Language)


หัดเขียนโปรแกรมกันครับโปรแกรมดีดีในโปรแกรมภาษาซีมีอะไรที่น่าสนใจครับ


คำสั่งภาษา c

คำสั่งภาษา c ประโยคคำสั่ง (Compound Statement)



          ประโยคคำสั่งในที่นี้ หมายถึง ชุดคำสั่งที่บรรจุอยู่ในฟังก์ชันนั้นๆ ซึ่งอาจเป็น
  • ประโยคที่ใช้สำหรับประกาศตัวแปร(Variable Declaration) หรือการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวเอง      ต่างๆโดยตัวแปรที่ใช้งานในโปรแกรม จำเป็นต้องได้รับการประกาศชนิดข้อมูลของตัวแปรนั้นๆด้วย
  • ประโยคนิพจน์คณิตศาสตร์ เช่น ประโยคคำนวณตัวเลขต่างๆ
  • ประโยคำสั่งควบคุมอื่นๆ เช่น คำสั่งควบคุมวงจรลูป คำสั่งควบคุมเงื่อนไข เป็นต้น
           ประโยคคำสั่งเหล่านี้จะถูกบรรจุภายใจบล๊อก{} เพื่อบอกจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานภายใจบล็อก และภายในบล็อกเครื่องหมายปีกกาก็ยังสามารถมีบล็อก {} ซ้อนย่อยเข้าไปได้อีก ที่สำคัญ เมื่อสิ้นสุด ประโยคใดๆ จะต้องลงท้ายด้วยย ; (Semicolon) เสมอ



สัญลักษณ์ข้างต้นนี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาซีครับ ...

โครงสร้างภาษาซี (Structure of C Programs)

โครงสร้างภาษาซี (Structure of C Programs)

        สำหรับคำสั่งที่ใช้งานใน โปรแกรมภาษาซี นั้นล้วนแล้วแต่เป็นฟังก์ชันทั้งสิ้น ดังนั้นโปรแกรมที่เขียนขึ้นจึงประกอบไปด้วยฟังก์ชันมากมาย ที่ถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งในลักษณะของโมดูลย่อย เพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายและในเมื่อโครงสร้างภาษาซี คือภาษาที่ประกอบไปด้วยฟังก์ชัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของฟังก์ชันเสียก่อน
            
             ฟังก์ชันคืออะไรครับ ฟังก์ชัน(Function) คือ ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ที่อนุญาติให้สามารถรับข้อมูล ประมวลผล และแสดงข้อมูล โดยฟังก์ชันที่ถูกเขียนขึ้นพร้อมใช้งาน และสามารถเรียกมาใช้งานได้ทันที จุถูกจัดเก็บไว้ในไลบรารีมาตรฐาน (Standard Library) 

              ในขณะที่ฟังก์ชันอื่นๆจะเป็นฟังก์ชันที่ถูกเขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ ในการเขียนโปรแกรมในภาษาซีนั้น จะมีฟังก์ชันพิเศษฟังก์ชันหนึ่งที่จำเป็นต้องมีไว้ในโปรแกรมเสมอ คือ ฟังก์ชัน main() ครับสำหรับฟังก์ชันนี้จะจัดเป็นฟังก์ชันหลักที่นำมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นของโปรแกรมเพื่อนสั่งให้ทำงาน โดยฟังชันอื่นๆ จะถือว่าเป็น รูทีนย่อย (Subroutines)





Input   >>>   Function    >>>  Output 







           

วิธีสมัคร google+

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย โปรแกรมภาษาซี

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย โปรแกรมภาษาซี
เขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วยโปรแกรมภาษาซี

 ก่อนอื่นให้เรามาทำความรู้จักกับ หลักการคราวๆที่มาที่ไปของ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

โอโอพี (OOP) หรือออบเจ็กต์โอเรียนเท็ดโปรแกรมมิ่ง (Object Oriented Programming) เป็นแนวคิดในการเขียนโปรแกรมแบบหนึ่ง ที่ผู้รู้หลายๆ ท่านได้สรุปหรือได้ให้คำนิยามไว้ว่า เป็นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ บางท่านก็สรุปว่าเป็นการเขียนโปรแกรมแบบอ้างอิงวัตถุ ซึ่งก็เป็นการให้ความหมายที่ตรงมากเลยทีเดียว 

OOP เป็นวิธีการเขียนโปรแกรม โดยอาศัยแนวคิดของวัตถุชิ้นหนึ่ง มีความสามารถในการปกป้องขอมูล และการสืบทอดคุณสมบัติ ซึ่งทำให้แนวโน้มของ OOP ได้รับการยอมรับและพัฒนามาใช้ในระบบต่างๆ มากมาย เช่น ระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ linux  เป็นต้น 

             ครับผม สำหรัลในบทความนี้จะศึกษาถึงความเป็นมา และความหมายของแนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ข้อควรรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ 

ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม สู้นะครับผม โปรแกรมภาษาซี

โครงสร้างภาษา c

โครงสร้างภาษา c


        สำหรับโครงสร้างโปรแกรมภาษาซี นั้นสามารถที่จะแบ่งเป็นส่วนๆที่สำคัญต่างๆดังต่อไปนี้

  1. พรีโปรเซสเซอร์ไดเรกทีฟ (Preprocessor Directive) คิดง่ายๆครับ ส่วนที่มีการระบุ #include <stdio.h> ...อืนๆครับ
  2. ฟังก์ชันหลัก (Main Function) คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เสมือนโปรแกรมครับ คือ main()
  3. ประโยคคำสั่ง (Compound Statement) คือ ส่วนที่ทำการเขียนซอร์สโค๊ดของเรานั้นเองครับ
  4. คำอธิบายภายในโปรแกรม (Program Comment) คือ ส่วนที่โปรแกรมเมอร์นั้น หมายเหตุในภาษาที่เขียนลงไป สามารถเขียนได้โดย   /*ข้อความหมายเหตุ*/ //ข้อความหมายเหตุสำหรับ 1 บรรทัด 

 ข้อสังเกตหนึ่งครับ ว่าที่ ฟังก์ชัน main()  ว่าทำไมต้องมี void ด้วย พึงจำไว้นะครับว่า ฟังก์ชัน  ที่ใช้งานในภาษาซีนั้น ส่วนใหญ่จะมีการรีเทิร์นค่ากลับ ซึ่งรหัสผลลัพท์กลับไป คือ 0 จะหมายถึงโปรแกรมทำงานสำเร็จแล้ว 
                     แต่ถ้าค่าที่รีเทิร์นไปมิใช่ 0 ก็หมายความว่าโปรแกรมจบไม่ปกติ จึงควรที่จะประกาศค่าเป็น void ไว้ยังไงละครับ



ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม สู้นะครับผม โปรแกรมภาษาซี

การออกแบบโปรแกรม(Program design)

การออกแบบโปรแกรม(Program design)        
      สำหรับ โปรแกรมภาษาซี แล้วการพัฒนานั้นก็ต้องคิดว่าเราต้องคิดว่าจะออกแบบโปรแกรมของเราว่าโปรแกรมของเราจะต้องทำอะไรได้บ้าง
         หากว่าเราพิจารณานะครับ ในรายละเอียดแล้ว ในการเขียน โปรแกรมภาษาซี  มีลักษณะเด่นกว่าภาษาระดับสูงทั่วไปในหลายๆด้านด้วยกัน




  • ความสามารถในการใช้งานบนสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน (Portability) 
  • มีประสิทธิภาพสูง(Efficiency)
  • ความสามารถในการเขียนโปรแกรม แบบโมดูล (Modularity)         
  • พอยน์เตอร์ (Pointer Operations)
  • มีความยืดหยุ่นสูง (Flexible Level)
  • ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ แตกต่างกัน (Case Sensitivity)

ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม สู้นะครับผม โปรแกรมภาษาซี

กฎเกณฑ์การเขียนโปรแกรมภาษาซี

กฎเกณฑ์การเขียนโปรแกรมภาษาซี 



          สำหรับกฎเกณฑ์การเขียนโปรแกรมภาษาซี สามารถที่จะสรุปได้ดังนี้ครับ
  1. จะต้องกำหนดพรีโปรเซสเซอร์ที่ต้นโปรแกรมก่อน เช่น #include <stdio.h>
  2. คำสั่งต่างๆ จะใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก
  3. ตัวแปรที่ใช้งาในโปรแกรม จะต้องถูกประกาศไว้เสมอ
  4. ภายในโปรแกรมจะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งฟังก์ชัน ซึ่งก็คือ ฟังก์ชัน main()
  5. ใช้เครื่องหมาย { เพื่อบอกจุดเริ่มต้นของชุดคำสั่ง และเครื่องหมาย} เพื่อบอกจุดสิ้นสดของชุดคำสั่งโดยสามารถมีเครื่องหมาย {} ซ้อนอยู่ภายในได้

ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม สู้นะครับผม โปรแกรมภาษาซี


โปรแกรมภาษาซี(C Programs)

โปรแกรมภาษาซี(C Programs)



สำหรับการเขียนโปรแกรมที่ใช้ ภาษาซีในการพัฒนาโปรแกรมนั้น มีหลากหลายโปรแกรมมาก ในปัจจุบัน แต่ที่นิยมๆกันในการนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา
หรือเพื่อเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น เราจำเป็นต้องหาตัวช่วย ในการพัฒนาโปรแกรมของเราด้วย
     
                   โปรแกรมที่ใช้พัฒนาภาษาซี ก็จะขอแนะนำนะครับ
สำหรับมือใหม่ เช่น codeblock IDE ครับขอบอกว่าใช้ง่ายดีครับ






ode : : Blocks -- IDEมีรูปลักษณ์ที่สม่ำเสมอและมีคุณสมบัติทั้งหมดที่คุณต้องการและการทำงานข้ามแพลตฟอร์ม เขาโฆษณามาครับอืมๆ ก็ลองดูแล้วกันนะครับว่าใช้ได้ดีกันไหม

tag: dekgoogleplus